Friday, April 26Modern Manufacturing
×

แบตเตอรี่ Lithium Iron ขุมพลังแห่งวันพรุ่งนี้จากรถฟอล์คลิฟท์ BYD

รถฟอล์คลิฟท์จาก BYD นำเสนอเทคโนโลยีแบตเตอรี่ Lithium Iron-Phosphate (LiFePO4) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ที่ทำให้ธุรกิจนั้นสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยเทคโนโลยีซึ่งสอดคล้องกับการก้าวเดินของโลกในยุคปัจจุบัน

แบตเตอรี่ Lithium Iron ขุมพลังแห่งวันพรุ่งนี้จากรถฟอล์คลิฟท์ BYD

แบตเตอรี่ Lithium Iron ขุมพลังแห่งวันพรุ่งนี้จากรถฟอล์คลิฟท์ BYD

ปัจจุบันทรัพยากรในโลกนี้ลดน้อยลงจนเรียกว่าก้าวเข้ามาในเส้นเฝ้าระวังจุดวิกฤต การลงทุนและการใช้ทรัพยากรจึงต้องเกิดขึ้นอย่างมีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับพลังงานซึ่งดูเหมือนจะเป็นการใช้แล้วหมดไปทันที! ซึ่งการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพดีกว่าคุ้มค่ากว่าทั้งต่อตนเองและสภาพแวดล้อมกลายเป็นแนวทางการดำเนินงานใหม่ของธุรกิจในยุคปัจจุบัน

หนึ่งในค่าใช้จ่ายสำหรับรถฟอล์คลิฟท์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องปฏิเสธไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องกับพลังงานอย่างแบตเตอรี่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนซึ่งแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอายุการใช้งานที่สั้นและมีต้นทุนค่าบำรุงรักษาที่สูง รวมถึงการใช้ทรัพยากรในการผลิตจำนวนมากซึ่งในท้ายที่สุดแล้วภายหลังหมดอายุการใช้งานมักกลายเป็นขยะมลพิษอีกด้วยทำให้การพัฒนาแบตเตอรี่รูปแบบใหม่อย่าง LiFePO4 กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนความไร้ประสิทธิภาพแบบเดิม ๆ ที่มีอยู่

แล้วทำไมต้อง Lithium Iron-Phosphate จาก BYD

แบตเตอรี่ Lithium Iron ขุมพลังแห่งวันพรุ่งนี้จากรถฟอล์คลิฟท์ BYD

หลายคนอาจคุ้นชื่อคุ้นหูกับ BYD ถ้าใครยังนึกไม่ออกผมขอเล่าสักนิดนึงว่า BYD นั้นเป็นผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำจากประเทศจีนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยปัจจุบันเราจะเห็นรถยนต์ของ BYD ที่เป็นยานยนต์ไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นรถบริการสาธารณะหรือแท็กซี่อยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ด้วยความเชี่ยวชาญด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับยานพาหนะ BYD จึงได้พัฒนาแบตเตอรี่ LiFePO4 ซึ่งสามารถรองรับความร้อนที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น สามารถให้ผลตอบแทนในการใช้งานที่คุ้มค่าและยืนยาวกว่าแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดแบบดั้งเดิม ซึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจมีดังนี้

อายุการใช้งานที่ยาวนานจนลืม!

เมื่อคุณใช้แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมอายุการใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 1,200 – 1,500 รอบ แต่สำหรับแบตเตอรี่ LiFePO4 นั้นมีการใช้งานเต็มประสิทธิภาพอย่างต่ำอยู่ที่ 4,000 รอบ และเมื่อมีการใช้งานเกินกว่านั้นจะสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ 75% ซึ่งในกรณีสมมุติหากชาร์จวันละครั้งสามารถทำงานได้ถึง 10 ปีเลยทีเดียว

เลิกกังวลกับการบำรุงรักษา

เมื่อแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมต้องคอยเติมน้ำกลั่นและสารละลายทำให้มีต้นทุนการบำรุงรักษารวมถึงการวางแผนวงรอบการตรวจสอบต่าง ๆ ในขณะที่แบตเตอรี่ไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้ถูกปิดผนึกมาอย่างดีและไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องดำเนินการบำรุงรักษา ทั้งยังสามารถตรวจสอบคุณภาพแบตเตอรี่ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย

ปลอดภัยต่อพื้นที่และผู้ใช้งาน

แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมมีทั้งตะกั่วและกรด Sulfuric ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการปลดปล่อยก๊าซไฮโดรเจนขณะประจุไฟฟ้า ทำให้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเพลิงไหม้ ในขณะที่แบตเตอรี่ไฟฟ้านั้นถูกปิดผนึกมาอย่างดีทำให้ไม่มีการปลดปล่อยสารเคมีอันตรายและไม่มีการคายก๊าซใด ๆ ทั้งยังได้รับการทดสอบระดับสูงสุดจาก EUROPEAN Safety Standard นอกจานี้ยังมีการทดสอบภายใต้เงื่อนไขอื่น ๆ อาทิ การกระแทก เปลวเพลิง และวัตถุมีคมเป็นต้น

พลังงานหมดไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่อีกต่อไป

แบตเตอรี่ไฟฟ้านั้นสามารถประจุพลังงานใหม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยรุ่น 100A ใช้เวลาประมาณ 2.5 ชั่วโมง และในรุ่น 200A ใช้เวลาเพียง 1.3 ชั่วโมงโดยประมาณ และเมื่อกลับมาพิจารณาถึงแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมแล้วกลับใช้เวลามากถึง 8 ชั่วโมง ซึ่งการใช้เวลาจำนวนมากทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสและอาจต้องใช้จำนวนรถที่มากเกินความจำเป็นเพื่อให้ได้งานที่ทันต่อความต้องการ

ทำงานได้อย่างเหนือชั้นในหลากหลายสภาพอากาศ

แบตเตอรี่ไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้มีความสามารถในการคายประจุได้สูงสุดถึง 5C และเมื่อทำงานภายใต้อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียสยังมีอัตราคายประจุที่สูงกว่า 60% ในขณะที่แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมไม่สามารถคายประจุในอัตราสูงได้ทั้งยังมีอัตราคายประจุอยู่ที่เกือบ 0% เมื่อทำงานภายใต้อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส

ประสิทธิภาพในการทำงานคับแก้ว!

แบตเตอรี่ LiFePO4 สามารถคายประจุได้ถึงระดับ 99% ในทุก ๆ รอบการชาร์จประจุ ในขณะที่แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมสามารถชาร์จประจุไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียง 60 – 70% และคายประจุได้เพียง 70% เท่านั้น

และหากลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านพลังงานใน 1 วันดูจะพบว่ารถฟอล์คลิฟท์ขนาด 2.5 ตัน มีค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 500 บาทและถ้าเป็น LPG จะอยู่ที่ 300 บาท สำหรับแบตเตอรี่แบบกรดจะอยู่ที่ 150 บาทในขณะที่ LiFePO4 มีต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 100 บาทเท่านั้น และหากเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลค่าใช้จ่ายต่อปีจะต่างกันมากถึง 144,000 บาทเลยทีเดียว

นอกเหนือจากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่กินขาดจากแหล่งพลังงานอื่นแล้ว รถฟอล์คลิฟท์จาก BYD ยังมาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานที่สะดวกสบาย อาทิ

  • ระบบควบคุมลดความเร็วขณะเลี้ยวเพื่อรักษาสมดุล
  • ระบบสนับสนุนของเบรคทำให้รถไม่ไหลเมื่อปล่อยแป้นเบรค
  • ระบบควบคุมองศาการเอนเสา ป้องกันสินค้าตกหล่น
  • ระบบป้องกันการยกสินค้าที่หนักเกินขีดจำกัด
  • หน้าจอแสดงผล TFT ที่แสดงค่าความเร็ว พลังงานที่เหลือ นาฬิกาบอกระยะเวลาปฏิบัติงาน รวมถึงการตั้งค่าความเร็วในการทำงาน

คุณอาจลองตั้งคำถามกับตัวเองว่ารถฟอล์คลิฟท์ที่คุณใช้งานอยู่นั้นสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้จริงหรือไม่? และถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า? ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนพลังงาน การดูแลรักษา และความปลอดภัยของผู้ใช้งาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้แสดงอยู่ในส่วนของรถฟอล์คลิฟท์ แต่สำหรับในภาพรวมแล้วต้นทุนเหล่านี้อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ไม่น้อยสำหรับธุรกิจเลยทีเดียว

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×